เทคนิคสอบติดทันตแพทยศาสตร์ ม.มหิดล
การเตรียมตัวเข้ามหาวิทยาลัยของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน ไม่อยากให้น้องๆยึดติดกับวิ...
สวัสดีครับ ก่อนอื่นต้องขอแนะนำตัวก่อน พี่ชื่อ ปลาย จบจาก โรงเรียนราชวินิตบางแค กำลังจะเข้าศึกษาในคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีปีที่ 1 ครับ พี่ต้องขอบอกก่อนว่าพี่เป็นเด็กซิ่วมาจากคณะเภสัช จุฬา ในตอนม.6 ที่พี่สอบกสพท นั้นพี่ได้คะแนนเพียง 61.xx ซึ่งพลาดแพทย์ พระมงกุฎไป พี่เลยตัดสินใจ admission เข้าเรียนในคณะเภสัชไปก่อน
ในการเตรียมสอบเข้าแพทย์ของพี่นั้น พี่ตั้งใจและวางแผนว่าจะซิ่วเพื่อสอบแพทย์ใหม่ตั้งแต่ก่อนเปิดเทอม 1นั้นแปลว่าพี่มีเวลาอ่านหนังสือ 1 ปีเต็มแต่ถึงยังไงพี่ก็ยังลงทะเบียน และ เรียนที่มหาลัยไปด้วย พร้อมทั้งทำกิจกรรมในคณะเพื่อที่เราจะได้มีเพื่อนใหม่และไม่เหงา รวมถึงเป็นการหาประสบการณ์ใหม่ๆ. แต่เราก็ควรเริ่มแบ่งเวลาในการอ่านหนังสือเตรียมซิ่วไปด้วยนะครับ การทำตารางและ plan การอ่านหนังสือและเรียนพิเศษช่วยได้เยอะเลยครับ แต่ก่อนอื่นเราควรมานั่งทบทวนก่อนว่าเราผิดพลาดอะไรไปในปีที่แล้ว วิชาไหนที่เราควรอัพ โดยไล่เป็นเรื่องๆไปในแต่ละวิชาไป เรื่องไหนได้แล้วก็แค่อ่านทบทวนผ่านๆ เรื่องไหนที่ยังไม่เข้าใจก็พยายามทำความเข้าใจ เรียนเพิ่ม และทำแบบฝึกหัดเยอะๆ
พี่แนะนำให้เราเริ่มอ่านจากวิชาที่เราถนัดและชอบที่สุดก่อนนะครับเพื่อเป็นกำลังใจในการอ่านโดยพี่เริ่มจากอ่าน เคมี และ ฟิสิกส์โดยพี่อ่านเองแล้วสรุป + เรียนพิเศษเสริมบ้างในบางบท + ทำโจทย์เก่าๆย้อนหลัง โดยเนื้อหาข้อสอบของเคมีฟิสิกส์ พี่ว่ามันออกวนๆซ้ำๆทุกๆปี แนวข้อสอบและความยากไม่เปลี่ยนแปลงมากเมื่อเทียบกับวิชาอื่นๆ พี่แค่เข้าใจหลักในการใช้สูตร มองภาพให้ออก 2 วิชานี้ก็ไม่ได้ยากสักเท่าไหร่นะครับ
และวิชาที่พี่อ่านสุดท้ายคือชีวะ ซึ่งเป็นวิชาที่ต้องใช้ความจำ(ถ้าเราอ่านวิชาที่ใช้จำล่วงหน้านานๆ มันลืมกันได้)ในส่วนของชีวะพี่ทำสรุป และ วาดรูปเนื้อหาสำคัญๆในแต่ละบทเอง และ จดศัพท์ชีวะสำคัญๆไว้ในสมุดสวยๆ เล่มนึง เพื่อที่จะทำให้เรารู้สึกอยากกลับมาอ่านอีกครับ
ส่วนวิชาที่พี่ไม่ถนัดเลยและทำได้คะแนนน้อยที่สุดในปีก่อนอย่างเลข พี่ใช้เวลาทุ่มกับวิชานี้มากที่สุดกว่า4 เดือน โดยทั้งลงเรียนพิเศษคอร์สเอน ตะลุยโจทย์ และทำโจทย์เสริมเองครับโดยที่ข้อไหนเราทำไม่ได้ พี่ก็ดูเฉลยแล้ววงไว้ เมื่อผ่านไปสักพักพี่ก็ค่อยกลับมาทำซ้ำและดูเฉลยเฉพาะข้อที่พี่ทำไม่ได้
ในส่วนของวิชาอังกฤษเป็นวิชาที่พี่อ่านเรื่อยๆ โดยไม่ได้จริงจังมากนัก(แต่คะแนนพี่อัพมากที่สุดจากปีก่อน 30 คะแนน) เพราะ การสอบหมอ ข้อสอบอังกฤษส่วนใหญ่เป็น reading ซึ่งเราต้องฝึกเป็นประจำอยู่แล้ว พี่เลยฝึกวิชานี้ด้วยการอ่านข่าวภาษาอังกฤษอาทิตย์ละ 3-4 เรื่องเป็นเวลา 1 ปี โดยจดศัพท์ที่เราไม่รู้ ไว้ท่องอาทิตย์ละ 20-30 คำ เมื่อพี่ฝึกไปนานๆ พี่รู้สึกว่า การอ่าน passageยากๆมันง่ายขึ้นเอง พอเจอข้อสอบจริง passage ในข้อสอบกับในข่าวที่เราอ่านก็ไม่ได้ต่างกันมากนัก พี่เลยเก็บคะแนนมาชิวๆ
2 วิชาสุดท้าย ภาษาไทย และ สังคม สำหรับน้องที่อยากจะสอบหมอ ข้อสอบภาษาไทยเป็นวิชาที่ไม่ต้องอ่านพี่ว่าเราก็ทำกันได้เพราะส่วนใหญ่ออกการจับใจความและสรุปเนื้อเรื่องที่เขาให้ ส่วนสังคมเนื้อหาเป็นความรู้รอบตัวเยอะ ซึ่งพี่รู้สึกว่ามันยากต่อการเก็บคะแนนพี่เลยอ่านแค่สรุปจากหนังสือเพื่อไปสอบ
ระยะเวลาในการอ่านและเรียนพิเศษในแต่ละวันก็ ประมาณ 6 – 12 ชมนะ น้อยกว่านี้ก็ได้ถ้าเราไม่ว่างจริงๆ แต่ก็ควรรักษาเวลาไว้ประมาณนี้ครับ
สำหรับพี่บรรยากาศในการเรียนถือว่าสำคัญ เวลาพี่อ่านหนังสือสถานที่ที่พี่เลือกคือ ห้องสมุดของมหาลัยหรือตาม cafe ต่างๆครับ พี่ไม่แนะนำให้อ่านหนังสืออยู่บ้านเพราะเวลาที่พี่อยู่บ้านทีไร จิตใจฟุ้งซ่าน เดียวนอน เดียวเปิดโทรทัศน์ทุกที แล้วก็ขี้เกียจทุกที.สำหรับเด็กซิ่วที่มหาลัยของพี่มีเพื่อนที่ตั้งใจจะซิ่วเหมือนกับพี่หลายคน เวลาอ่านก็ช่วยๆกันอ่าน ช่วยๆกันติว ก็ทำให้เราเข้าใจได้ไวขึ้นอีก แถมเวลาพี่เห็นคนอื่นอ่าน เหมือนเป็นแรงกระตุ้นให้พี่ขยันขึ้นมากเลย
ช่วงเดือนสุดท้ายก่อนสอบ (ช่วง พย-ธค) เป็นช่วงที่พี่เน้นทำโจทย์อย่างเดียวแล้วครับ เก็บตกความรู้ทุกวิชา พยายามจดจุดสำคัญๆจากข้อสอบเก่าๆที่เราจำไม่ได้ใส่ใน post it หรือ short note แปะไว้อ่านตามฝาพนังบ้าน แล้ว 1-2 วันก่อนสอบพี่ก็เอามันกลับมาอ่านอีกที. ช่วงที่พี่เอาโจทย์และข้อสอบเก่ามาทำ พยายามจับเวลา และ บริหารเวลาในการทำข้อสอบดีๆ ข้อไหนไม่ได้จริงๆก็ควรข้ามไปก่อนเมื่อทำข้อสอบเสร็จในแต่ละชุด ข้อในผิดก็ดูเฉลยละเอียดอีกที
ในปีนี้พี่ได้คะแนนรวม 70.xx% จากการสอบกสพทโดยพี่ใช้เทคนิคที่พี่กล่าวมาข้างต้น พี่หวังว่าเทคนิคนี้จะเป็นประโยชน์กับน้องๆม.6 และเด็กซิ่วที่ตั้งใจจะสอบหมอในปีต่อๆไปนะครับ
นาย วัชรากร กลัดแก้ว (ปลาย)
โรงเรียนราชวินิตบางแค GPA 3.70
สอบติดคณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี ม.มหิดล
คะแนนสอบเฉลี่ย 69.5 (อิ้ง 81.25 /เคมี 78 /ฟิสิกส์ 76 /ไทย 74/ ชีวะ 67.25)
การเตรียมตัวเข้ามหาวิทยาลัยของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน ไม่อยากให้น้องๆยึดติดกับวิ...
เริ่มเลยตอนช่วงปิดเทอมซัมเมอร์เป็นช่วงที่เรียกว่าเรียนพิเศษหนักมาก แต่ตอนนั้นพี่...