คอร์สติวสอบเข้ามหาวิทยาลัย
TCAS
TCAS คือ ระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาใหม่ เรียกว่า Thai university Central Admission System (TCAS)
ระบบ TCAS
- เป็นการจัดระบบ และระเบียบ การรับเข้าศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาแบบโควตาหรือรับตรง ซึ่งมีการจัดการโดยอิสระมาเป็นการจัดการอยู่ภายใต้ระบบเดียวกันรวมทั้ง Admission
- นักเรียนยังเตรียมตัวเหมือนเดิม ไม่มีการสอบแบบใหม่ เพียงแต่ลดการสอบ GAT/PAT ไป 1 ครั้ง (และลดการสอบที่มหาวิทยาลัยจัดสอบเอง) โดยการสอบของข้อสอบกลางทั้งหมดจะเลื่อนไปสอบหลังจากที่เด็กชั้น ม.6 เรียนจบการศึกษาแล้ว
- มีการ Clearing-House ทุกรอบ ทุกสถาบันเข้าร่วม จากเดิมมี 1 รอบ และบางสถาบันเข้าร่วม ระบบนี้สร้างมาเพื่อไม่ให้ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกหลายๆที่พร้อมกัน “กันที่” ของคนอื่นนั่นเอง
หลักการสำคัญของ TCAS
- นักเรียนควรอยู่ในห้องเรียนจนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
- ผู้สมัครแต่ละคนมีเพียง 1 สิทธิ์ ในการตอบรับในสาขาวิชาที่เลือก เพื่อความเสมอภาค
- สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งสังกัดกระทรวงศึกษาธิการจะเข้าระบบ Clearing House เพื่อบริหาร 1 สิทธิ์ ของผู้สมัคร
การคัดเลือกของทั้งประเทศจะมีทั้งสิ้น 5 รอบ ได้แก่
รอบที่ 1 การรับด้วย Portfolio โดยไม่มีการสอบข้อเขียน
เป้าหมาย นักเรียนทั่วไปนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ นักเรียนโควตา นักเรียนเครือข่าย
วิธีการ ให้นักเรียนยื่นสมัครโดยตรงกับสถาบันอุดมศึกษา สามารถ Pre-Screening แล้วสัมภาษณ์ได้
รอบที่ 2 การรับแบบโควตาที่มีการสอบข้อเขียนหรือข้อสอบปฏิบัติ
เป้าหมาย นักเรียนที่อยู่ในเขตพื้นที่หรือโควตาของโรงเรียนในครือข่าย และโครงการความสามารถพิเศษต่างๆ
วิธีการ นักเรียนยื่นสมัครโดยตรงกับสถาบันอุดมศึกษาและเข้ารับการคัดเลือกตามเกณฑ์การสอบ ต้องใช้ข้อสอบร่วมสามัญ 9 วิชา และ/หรือ GAT/PAT อาจมีวิชาเฉพาะได้
รอบที่ 3 การรับตรงร่วมกัน
เป้าหมาย นักเรียนในโครงการกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) โครงการอื่น ๆ และนักเรียนทั่วไป
วิธีการ ยื่นสมัครกับ ทปอ. ทปอ.เป็นหน่วยกลางใน
การรับสมัคร นักเรียนสามารถเลือกได้ 4 สาขาวิชาโดยไม่เรียงลำดับ แต่ละสถาบันอุดมศึกษากำหนดเกณฑ์การรับเอง และจัดการสอบในเวลาเดียวกัน
รอบที 4 การรับแบบ Admission
เป้าหมาย นักเรียนทั่วไป
วิธีการ ทปอ.เป็นหน่วยกลางในการรับสมัคร นักเรียนสามารถเลือกสมัครได้ 4 สาขาวิชา แบบมีลำดับ โดยใช้เกณฑ์ค่าน้ำหนักตามที่ประกาศไว้ล่วงหน้า 3 ปี
รอบที 5 การรับตรงอิสระ
เป้าหมาย นักเรียนทั่วไป
วิธีการ ยื่นสมัครกับสถาบันอุดมศึกษาโดยตรงด้วยวิธีการของสถาบันเอง เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนต่อ
คอร์สติวสอบ GAT, PAT
Admission คือ ระบบกลางการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา (CentraI University Admissions System : CUAS) หรือระบบแอดมิสชั่นส์กลาง ที่ใช้ทำการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาปีการศึกษา 2549 แทนระบบเอ็นทรานซ์ที่ใช้อยู่เดิม โดยมีองค์ประกอบเพื่อใช้เป็นเกณฑ์
ในการพิจารณาคัดเลือกผู้สมัครเข้าศึกษา ในมหาวิทยาลัย ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ได้กำหนดองค์ประกอบ และค่าน้ำหนักในการคัดเลือกเข้าศึกษา
ในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาด้วยระบบกลาง (Admissions) ประกอบด้วย 1. GPAX 2. O-NET 3. GAT 4. PAT รวม 100 %
1. O-NET (Ordinary National Education Test) หรือการสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน ในตอนนี้จะพูดถึงการสอบ O-NET ในระดับชั้น ม.6 เพียงอย่างเดียว O-NET ม.6 คือ การวัดผลของโรงเรียนแต่ละโรงเรียนว่า ได้สอนนักเรียนของตัวเองตามหลักสูตรกระทรวงขนาดไหน
ข้อสอบ O-NET นี้จะเป็นข้อสอบง่ายๆ ที่วัดเฉพาะพื้นฐานจริงๆ เท่านั้น
2. GAT (Genetal Aptitude Test) หรือมีชื่อเป็นภาษาไทยสั้นๆ ว่า การสอบความถนัดทั่วไป ซึ่งจะเน้นเนื้อหาทางด้าน
การอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์การแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ รวมไปถึงการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ข้อสอบ GAT นี้จะมีความซับซ้อนมากกว่าความยาก
3. PAT (Professional Aptitude Test) หรือมีชื่อเป็นภาษาไทยสั้นๆว่า
การสอบความถนัดเฉพาะด้าน/วิชาการ เป็นข้อสอบที่ยากที่สุดในสามตัวที่พูดถึง วิชาเฉพาะด้านที่มีสอบคือ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ พื้นฐานวิศวกรรม พื้นฐานสถาปัตยกรรม พื้นฐานความเป็นครู และวิชาด้านภาษาอื่นๆ นอกเหนือจากภาษาอังกฤษ
ความถนัดทั่วไป (GAT : General Aptitude Test/ 300 คะแนน/เวลาสอบ 3 ชม.) คือ การวัดศักยภาพในการเรียนในมหาวิทยาลัยให้ประสบความสำเร็จ
1. เนื้อหา
– การอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์และการแก้โจทย์ปัญหา (ทาง คณิตศาสตร์) 50% หรือ 150 คะแนน
– การสื่อสารด้วยภาษา อังกฤษ (Vocabulary, Structure/Writing, Reading Comprehensive) 50% หรือ 150 คะแนน
2. ลักษณะข้อสอบ
– ข้อสอบปรนัย และอัตนัยที่ตอบแบบปรนัย
– ข้อสอบ เน้น Content Free และ Fair
– เน้นความซับ ซ้อน (Complexity) มากกว่า ความยาก
ความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการ (PAT : Professional and Academic Aptitude Test/ 300 คะแนน/เวลาสอบ 3 ชม.) คือ ความรู้ที่เป็นพื้นฐานที่จะเรียนต่อ กับศักยภาพที่จะเรียนในวิชาชีพนั้นๆ ให้ประสบความสำเร็จ มี 7 ประเภท
-
PAT 1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์
เป็นโจทย์คณิตศาสตร์ที่ยากที่สุดในการสอบ Admission (ยากกว่าข้อสอบ O-Net และ 9วิชาสามัญ)
นักเรียนคนไหนที่ได้คะแนนสูงๆ ถือว่ามีทักษะด้านคณิตศาสตร์ที่ดีมากๆ
เนื้อหาของข้อสอบ ประกอบด้วยบทเรียนของคณิตศาสตร์พื้นฐาน (คณิตศาตร์หลัก) และคณิตศาสตร์เสริม
ทั้งหมด 17 บท ซึ่งบทเรียนที่มีเนื้อหาซับซ้อน และปริมาณมากๆ
ก็จะใช้ออกข้อสอบในปริมาณที่มากตามไปด้วย เช่น เอกซ์โพแนนเชียลและลอการึทึม ความน่าจะเป็น
ตรีโกณมิติ แคลคูลัส สถิติ ลำดับและอนุกรม
กลุ่มคณะที่ใช้ เช่น กลุ่มคณะวิทยาศาสตร์กายภาพ กลุ่มเกษตร-วนศาสตร์ กลุ่มบริหาร-บัญชี
เศรษฐศาสตร์
-
PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์
เนื้อหาของข้อสอบ ประกอบด้วย 4 วิชา คือ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และ ดาราศาสตร์
โดยจำนวนข้อสอบของวิชา ฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา แต่ละวิชามีจำนวนข้อที่ค่อนข้างใกล้เคียงกัน
(25-35%) ส่วนดาราศาตร์จะมีจำนวนข้อที่น้อยสุด (10-15%) เนื่องจากข้อสอบ PAT2 ประกอบด้วย 4
วิชาด้วยกัน มีผลทำให้นักเรียนจำนวนมาก เลือกทำเฉพาะวิชาที่ตนเองได้เตรียมตัวมา ดังนั้น PAT2
ถือว่ามีความยากอยู่พอสมควร เพราะปริมาณที่มากของบทเรียนในการออกข้อสอบมีคณะที่ใช้ เช่น
กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ กลุ่มวิทยาศาสตร์กายภาพ คณะวิศวกรรมศาสตร์
-
PAT 3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์
เนื้อหาของข้อสอบ ประกอบด้วย 3 วิชา คือ ฟิสิกส์ (เน้นเรื่องของไหล แสง เสียง ภาคกลศาสตร์
และไฟฟ้า) เคมี (เน้นคำนวณ เช่น ปริมาณสารสัมพันธ์ กรด-เบส แก๊ส รวมถึงผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม)
คณิตศาสตร์ (เน้นเรื่องแคลคูลัส สถิติ) รวมถึงการมองภาพ3มิต ิ(isometricพื้นฐาน)
ก็เป็นข้อสอบด้วยเช่นกัน มีคณะเดียวที่ใช้ คือ คณะวิศวกรรมศาสตร์
-
PAT 4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
เนื้อหาของข้อสอบ เกี่ยวกับ isometric(PLAN PRONT SIDE) แนวข้อสอบตรรกะ ความรู้ทั่วไป
และให้วาดรูป (perspective) มีคณะเดียวที่ใช้ คือ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
-
PAT 5 ความถนัดทางวิชาชีพครู
มีคณะเดียวที่ใช้ คือ คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์
-
PAT 6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์
เนื้อหาเกี่ยวกับ ทฤษฎีศิลปะ ทัศนศิลป์ ดนตรี นาฏยศิลป์ มีคณะที่ใช้ คือ คณะศิลปกรรมศาสตร์
(วิจิตรศิลป์ ศิลปะประยุกต์) ดุริยางคศิลป์ และนาฏยศิลป์
-
PAT 7 ความถนัดทางภาษาต่างประเทศ
แบ่งออกเป็น 6 หมวด ดังนี้
7.1 ภาษาฝรั่งเศส 7.2 ภาษาเยอรมัน 7.3
ภาษาญี่ปุ่น
7.4 ภาษาจีน
7.5 ภาษาอาหรับ 7.6 ภาษาบาลี
มีคณะที่ใช้ เช่น กลุ่มการโรงแรมและท่องเที่ยว กลุ่มมนุษย์ฯ-อักษรฯ-สังคมศาสตร์ สำหรับการสอบ
GAT PAT ค่อนข้างจะอิสระพอสมควร ทุกคนมีสิทธิในการสอบหมด ทั้ง ม.6 เด็กซิ่ว หรือสายอาชีพ
และจะสมัครกี่ครั้งก็ได้ (ปีนึงมี 2 ครั้ง) โดยอายุของคะแนนสอบ GAT PAT อยู่ได้ 2 ปี
นั่นหมายความว่า หาก ม.6 ปีนี้ อยากซิ่วในปีหน้า คะแนนของปีนี้ก็ยังใช้ได้
โดยในการสมัครแอดมิชชั่นกลางจะมีระบุไว้ว่าใช้รอบใดได้บ้าง และในรับตรงบางคณะ
จะกำหนดไว้ว่าใช้คะแนนรอบไหนได้บ้าง สามารถสมัตรสอบ Gat Pat และ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง
http://www.niets.or.th/
การสอบรับตรงจุฬา เกษตร ธรรมศาสตร์ มหิดล มศว
- ข้อมูลการสอบรับตรงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
http://admission2.atc.chula.ac.th/
- ข้อมูลการสอบรับตรงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
http://registrar.ku.ac.th/direct-admission
- ข้อมูลการสอบรับตรงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
http://web.reg.tu.ac.th/registrar/home.asp
- ข้อมูลการสอบรับตรงมหาวิทยาลัยมหิดล
http://www.mahidol.ac.th/quota2013/1.html
- ข้อมูลการสอบรับตรงมหาวิทยาลัย มศว ประสานมิตร
http://admission.swu.ac.th/
คอร์สติวสอบ O-NET
O-NET
คือ การทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ซึ่งในภาษาฝรั่งก็คือ Ordinary National Education
Test ที่จัดสอบโดย สทศ. (สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ ใช้ อาจารย์ระดับมัธยมปลายที่มีความเชี่ยวชาญในการออกข้อสอบ)
หรือ National Institute of Educational Testing Service ตัวย่อ NIETS
การสอบ
O-NET
นี้จะใช้วัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดต่างๆให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ
ซึ่งก็จะใช้วัดความรู้และความคิดของนักเรียนในระดับ ป.6 ม.3 และ ม.6 โดย ที่ข้อสอบจะประกอบไปด้วยเนื้อหา
5กลุ่มสาระการเรียนรู้ (จากเดิมที่เคยมี 8กลุ่ม) ได้แก่
- ภาษาไทย
- สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
- ภาษาอังกฤษ
- คณิตศาสตร์
- วิทยาศาสตร์
O-NET
เป็นการทดสอบที่มีจุดหมายเดียวกัน คือประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ของนักเรียนแต่ละโรงเรียน เพื่อนำข้อมูลมาทำแผนพัฒนานักเรียนให้สามารถอ่านออกเขียนได้
รู้จักคิดวิเคราะห์ เป็นการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนแต่ละช่วงชั้น
ส่วนหนึ่งเพื่อเป็นการทดสอบวัดผลการเรียนของโรงเรียนนั้นๆ
การสอบ O-NET ใช้ข้อสอบมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ นักเรียนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ
ซึ่งแบ่งระดับการสอบออกเป็น 3 ช่วงชั้น คือ
1) ป.6 ใช้โรงเรียนที่นักเรียนเรียนอยู่เป็นสนามสอบ
2) ม.3 ใช้โรงเรียนขนาดกลางและขนาดใหญ่เป็นสนามสอบ
3) ม.6 ใช้ศูนย์สอบมหาวิทยาลัย 20 แห่งเป็นสนามสอบ โดยคะแนนจากการสอบแต่ละวิชามีความสำคัญมาก
เพราะเป็นองค์ประกอบในการยื่นเลือกคณะเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา หรือ Admission กลางนั่นคือ
คะแนนที่เราสอบทุกคะแนน จะเอาไปคำนวณและรวมกับ GPAX GAT PAT ให้ออกมาเป็นคะแนน Admission
อีกทั้งในหลายๆคณะใน Admissionกลาง ได้กำหนดขั้นต่ำของคะแนนสอบ O-Net เอาไว้ด้วย
ข้อมูลเพิ่มเติม ตรวจสอบได้ทาง
http://www.niets.or.th/th/catalog/view/241
แต่ทีผ่านมายังไม่มีการนำผลคะแนน O-Net มาใช้อย่างจริงจัง เป็นเพียงเก็บเป็นสถิติ
วัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาเพื่อประเมินการเรียนการสอน รวมถึงการแก้ไขปัญหาระหว่างกระทรวงศึกษาธิการของ
โรงเรียน และนักเรียนที่มีผลคะแนนอยู่ในเกณฑ์ต่ำ
สทศ.ยังจัดสอบในรูปแบบคล้ายๆ กับ O-Net แต่เรียกต่างกัน เช่น โรงเรียนพระเรียก B-Net, กศน.เรียก
N-Net, อาชีวะ เรียก V-Net และอิสลามศึกษา เรียก I-Net ซึ่งมีจุดมุ่งหมายของการสอบเช่นเดียวกับ
O-Net นั่นเอง
คอร์สติวสอบ 9 วิชาสามัญ
9
วิชาสามัญ คือ ระบบสอบตรงโดยใช้ข้อสอบกลางเคยมีชื่อว่า
"7 วิชาสามัญ" มาก่อน
ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลง เพิ่มวิชาเข้ามา 2 วิชาคือ คณิตศาสตร์ของสายศิลป์
และวิทยาศาสตร์พื้นฐานของสายศิลป์ ทำให้ 9 วิชาสามัญมีจำนวนวิชาที่ใช้สอบดังนี้
1. วิชาภาษาไทย
2. วิชาสังคมศึกษา
3. วิชาภาษาอังกฤษ
4. วิชาคณิตศาสตร์ 1 (สายวิทย์และศิลป์คำนวณ)
5. วิชาฟิสิกส์
6. วิชาเคมี
7. วิชาชีววิทยา
8. วิชาคณิตศาสตร์ 2 (สายศิลป์ภาษา)
9. วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน (สายศิลป์ภาษา) เป็นข้อสอบที่ออกโดย สทศ
(สถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ) เช่นเดียวกับ GAT PAT
การสอบ 9 วิชาสามัญนั้น ผู้สมัครต้องมีคุณสมบัติ
กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
(ม.6) หรือเทียบเท่า หรือสูงกว่า ม.6 ขึ้นไป (เด็กซิ่วสามารถสอบได้) โดยมีวิชาให้เลือกสอบทั้งหมด
9 วิชา ให้เวลาสอบวิชาละ 90 นาที (1.5 ชม.) แต่อาจจะ
ไม่จำเป็นต้องสอบทั้ง 9
วิชา ซึ่งคนสอบจะต้องตรวจสอบกับทางคณะ
มหาวิทยาลัยที่เรายื่นคะแนนว่าเขาต้องการคะแนนวิชาไหนบ้าง
หัวข้อ |
Admission
|
9 วิชาสามัญ
|
ข้อสอบ O-Net
|
ใช้คำนวณคะแนนด้วย |
ไม่ใช้คำนวณคะแนน |
GPA |
นำมาคิดคะแนนด้วย ทำให้เด็กจากโรงเรียนที่แข่งขันสูงเสียเปรียบ |
ไม่นำมาคิดคะแนน
แต่จะกำหนดเกณฑ์เกรดเฉลี่ยขั้นต่ำเอาไว้แทน
ถ้าเกรดสูงกว่าเกณฑ์ก็สามารถยื่นคะแนนได้ |
สัดส่วนคะแนนของแต่ละวิชา |
เท่ากันหมด |
สัดส่วนคะแนนแต่ละวิชาไม่เท่ากัน
เช่น คณะวิศวะอาจจะให้สัดส่วนวิชาคณิตศาสตร์สูงกว่าวิชาอื่นๆ |
ความยากของข้อสอบ
|
ยากกว่ามาก
ทำให้คะแนนสอบของนักเรียนทั่วประเทศไม่ค่อยกระจาย |
ง่ายกว่า คะแนนกระจายกว่า
|
วิชาฟิสิกส์ เคมี ชีวะ |
Admission รวมวิชา ฟิสิกส์ เคมี และชีวะ เข้าเป็นวิชาเดียวกันคือ PAT2 เลือกแยกสอบไม่ได้ต้องสอบรวมกันหมด มีปัญหากับคณะสถาปัตย์บางมหาลัยไม่ต้องการให้สอบเคมี |
เลือกสอบได้ อิสระกว่า |
หลักๆ ก็จะมีทั้งหมด 27 มหาวิทยาลัย ที่ใช้คะแนน 9 วิชาสามัญยื่นคะแนน ได้แก่
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- มหาวิทยาลัยทักษิณ
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- มหาวิทยาลัยนครพนม
- มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
- มหาวิทยาลัยนเรศวร
- มหาวิทยาลัยบูรพา
- มหาวิทยาลัยพะเยา
- มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- มหาวิทยาลัยมหิดล
- มหาวิทยาลัยแม่โจ้
- มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
- มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- มหาวิทยาลัยศิลปากร
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ทั้งนี้
บางมหาวิทยาลัยอาจจะเลือกใช้ข้อสอบอื่นๆ ได้ตามแต่ทางมหาวิทยาลัย ซึ่งต้องศึกษาระเบียบการก่อนการสมัครรับตรงตามโครงการต่างๆ อีกครั้งหนึ่ง
CU-BEST คืออะไร
CU-BEST คือ ข้อสอบสำหรับเข้าศึกษาต่อในระดับชั้นปริญญาโท และปริญญาเอก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในหลักสูตร MBA และการตลาด
หลักสูตรที่ต้องใช้คะแนนสอบ CU-BEST ในการยื่นสมัคร
- หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ภาคปกติ
- หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต นักบริหารระดับต้น
- หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการการบิน
- หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสาขาการจัดการโรงพยาบาล
- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ
- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด
- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการด้านโลจิสติกส์
- หลักสูตรบัญชีดุษฏีบัณฺฑิต
* สาหรับหลักสูตร MBA English Program จะต้องใช้ CU-BEST (English) เท่านั้น
ค่าสมัครสอบ CU-BEST
- CU-BEST ภาษาไทย ค่าสมัครสอบ 500 บาท จัดสอบปีละ 4 ครั้ง
- CU-BEST ภาษาอังกฤษ ค่าสมัครสอบ 1,000 บาท จัดสอบปีละ 2 ครั้ง
ข้อสอบ CU-BEST มี 3 ตอน
ตอนที่
|
CU-BEST ภาษาไทย
|
CU-BEST ภาษาอังกฤษ
|
1. การวิเคราะห์ปัญหาทางธุรกิจ
- บทความสั้น Critical Reasoning
- บทความยาวประมาณ 1–2 หน้า 5 บทความ
|
40 ข้อ
|
200 คะแนน
|
30 ข้อ
|
150 คะแนน
|
2. คณิตศาสตร์
- การใช้เหตุผล วิเคราะห์ว่าข้อมูลที่ให้มาเพียงพอหรือไม่
- คณิตศาสตร์ทั่วไปเป็นแบบตัวเลือก
- การอ่านตาราง กราฟ และแผนภูมิง่ายๆ
|
40 ข้อ
|
200 คะแนน
|
30 ข้อ
|
150 คะแนน
|
3. ทักษะเชาว์ปัญญา
|
20 ข้อ
|
100 คะแนน
|
20 ข้อ
|
100 คะแนน
|
|
100 ข้อ
|
500 คะแนน
|
80 ข้อ
|
400 คะแนน
|
เกณฑ์การให้คะแนน ทักษะเชาว์ปัญญา
ทำถูกข้อละ 5 คะแนน ทำผิดหักข้อละ 2 คะแนน ไม่ตอบ 0 คะแนน ตอบมากกว่า 1 ข้อถูกหัก 5 คะแนน
*คะแนนสอบ CU-BEST มีอายุ 2 ปี โดยสามารถติดตามรายละเอียด กำหนดการรับสมัครและวันสอบ จากทางเว็บไซต์ www.mbachula.info
อ้างอิงจาก http://www.vcharkarn.com/varticle/43372, http://www.smart1-business.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539645241
TU-GET คืออะไร
เป็นการสอบวัดระดับความรู้ภาษาอังกฤษของผู้ที่ประสงค์จะสมัครเข้าเรียนในระดับปริญญาตรีหลักสูตร นานาชาติ และระดับบัณฑิตศึกษา โดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่ง
ผลการสอบมีอายุ 2 ปี ประกอบด้วย
ตอนที่ 1 ความรู้ทางไวยากรณ์ (Grammar) 25 ข้อ 250 คะแนน
1.1 Sentence Completion (การเติมประโยคให้สมบูรณ์ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์)
1.2 Error Identification (การบ่งชี้ว่าข้อเลือกใดเป็นข้อที่ผิดกฎทางไวยากรณ์)
ตอนที่ 2 ความรู้ทางด้านศัพท์ (Vocabulary) 25 ข้อ 250 คะแนน
2.1 ข้อสอบแบบ Cloze เป็นข้อสอบที่เว้นช่องว่างไว้ให้เติมคำศัพท์ที่ถูกต้องโดยเลือกจากคำศัพท์ที่กำหนดให้
2.2 ข้อสอบที่มีการขีดเส้นใต้คำในประโยคและให้เลือกคำที่มีความหมายใกล้เคียงกับกลุ่มคำที่กำหนดให้
ตอนที่ 3 การอ่านเพื่อความเข้าใจ ( Reading Comprehension) 50 ข้อ 500 คะแนน
เป็นการวัดทักษะการอ่านหลายๆ ด้าน เช่น main idea, detail information, pronoun reference, inference และ conclusion เป็นต้น
รวมทั้งสิ้น 100 ข้อ คะแนนเต็ม 1,000 คะแนน
การสอบ TU-GET นั้น จะมีการจัดสอบโดยเฉลี่ยเดือนละครั้ง ผู้สมัครต้องสมัครสอบผ่านโปรแกรมลงทะเบียนแบบ Online ทาง Internet เท่านั้น โดยผู้สมัครสามารถสมัครผ่านทาง
http://litu.tu.ac.th/TUGET/Login.aspx ค่าธรรมเนียมการสอบ 500 บาท บุคคลทั่วไปสามารถนำคะแนน TU-GET ไปใช้ได้หลายด้าน ทั้งด้านการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ในด้านการศึกษาในระดับปริญญาตรีหลักสูตรนานาชาติจะต้องมีการยื่นคะแนนในบางคณะเท่านั้น กำหนดให้มีคะแนน TU-GET ขั้นต่ำอยู่ที่ ประมาณ 550 คะแนน โดยแต่ละคณะจะมีหลักเกณฑ์แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละหลักสูตรนั้นให้ผู้เรียนใช้ทักษะระหว่างเรียนมากน้อยเพียงไร
TOEIC คืออะไร
TOEIC เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดความสามารถของการใช้ภาษาอังกฤษ ในประเทศไทยหน่วยงานต่าง ๆ เช่น สถาบันการศึกษา หน่วยงานการบิน การเงิน การโรงแรมและบริษัทข้ามชาติต่างๆ ได้นำ TOEIC ไปใช้ในลักษณะต่างๆ กัน บางแห่งเพื่อคัดเลือกเข้าทำงาน บางแห่งใช้เพื่อวัดระดับความสามารถ ทางการใช้ภาษาของ พนักงาน โดยผลสอบ TOEIC สามารถใช้ได้ 2 ปี
ปัจจุบันการสอบ TOEIC ใช้รูปแบบที่เรียกว่า Redesigned TOEIC แบ่งการสอบเป็น 2 ส่วนคือ การฟัง (Listening) และ การพูด (Reading) จำนวน 200 ข้อ คะแนนเต็มรวม 990 คะแนน เวลาในการทำข้อสอบคือ 2 ชั่วโมง ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. การฟัง (Listening Comprehension) มี 100 ข้อ คะแนนเต็ม 495 คะแนน เวลา 45 นาที ผู้เข้าสอบจะได้ฟังคำถาม และการสนทนาสั้นๆ เป็นภาษาอังกฤษ แล้วตอบคำถามจากสิ่งที่ได้ยิน โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วนย่อย ดังนี้
Part 1: Photographs 10 ข้อ
Part 2: Question-Response 30 ข้อ
Part 3: Conversations 30 ข้อ
Part 4: Short Talks 30 ข้อ
2. การอ่าน (Reading Comprehension) มี 100 ข้อ คะแนนเต็ม 495 คะแนน เวลา 75 นาที ผู้เข้าสอบจะต้องตอบคำถามจากสิ่งที่อ่าน โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนย่อย ดังนี้
Part 5: Incomplete Sentences 40 ข้อ
Part 6: Text Completion 12 ข้อ
Part 7: Reading Comprehension 48 ข้อ
- ผลคะแนน TOEIC สามารถนำไปใช้ได้ทั่วโลก
- ผู้ที่ต้องการทราบทักษะด้านภาษาอังกฤษสามารถติดต่อขอสอบ TOEIC ได้ทุกวัน จันทร์-เสาร์ ตลอดทั้งปี
- ศูนย์ TOEIC รับรองผลสอบที่มีอายุ 2 ปีนับจากวันสอบ
- คะแนน TOEIC เริ่มจาก 10 คะแนนถึง 990 คะแนน โดยแบ่งคะแนนการฟังเป็น 5-495 คะแนนและ การอ่าน 5-495 คะแนน
การสมัครสอบ TOEIC สามารถสมัครด้วยตัวเองที่ อาคาร BB Building หรือโทรไปสำรองที่นั่งสอบไว้ก่อน เปิดสอบสองช่วงคือ เช้า 09.00 น.-12.00 น. และบ่าย 13.00 น.-16.00 น. เปิดสอบทุกวันยกเว้นวันอาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ค่าธรรมเนียมการสอบ 1,200 บาท สำหรับ Classis TOEIC และ 1,500 บาท สำหรับ Redesigned TOEIC
***ถ้าคุณมีคะแนน TOEIC ที่ดี 600 up เต็ม 990 สามารถมีโอกาสในการทำงาน หน่วยงานการบิน โรงแรม บริษัทข้ามชาติ การเงิน การธนาคาร ปิโตรเคมี ปตท. SCG ที่ได้เงินเดือน สูงๆ หรือ ท่านที่ต้องการ เลื่อน ตำแหน่ง, ปรับเงินเดือนให้สูงชึ้น ก็คะแนน TOEIC นี่เลย