หลักสูตร / ค่าเรียน

สอบเข้า ม.4 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา

สอบเข้า ม.4 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา

หากจะกล่าวถึงโรงเรียนในฝันที่นักเรียนระดับชั้น ม.3 สนใจและอยากสอบเข้าศึกษาต่อมากที่สุดในปัจจุบัน ตัวเลือกอันดับแรก คือ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ซึ่งจะสอบคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาต่อในช่วงปลายเดือนมีนาคมของทุกปี ถือว่าเป็นสนามสอบแข่งขันคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาต่อในช่วงแรกของปีการศึกษา

ลักษณะการสอน : ปรับพื้นฐาน สรุปเนื้อหาอย่างเข้มข้นของเนื้อหาที่เรียนในชั้น ม.ต้นทั้งหมด รวมถึงเนื้อหาบางส่วน ของมัธยมปลาย โดยสามารถเน้นเฉพาะจุดที่ไม่เข้าใจ พร้อมทั้งเทคนิคลัด วิธีจำ แนะแนวการเตรียมตัวก่อนสอบ เก็งข้อสอบ หรือเนื้อหาที่ใช้ออกข้อสอบบ่อยๆ

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เป็นโรงเรียนสหศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายแห่งแรก ของประเทศไทย อยู่ในความดูแลของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ถ.พญาไท แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ในปีหนึ่งจะมีการคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาชั้นม.4 เป็นจำนวนมาก แบ่งออกเป็น 

แผนวิทย์-คณิต จำนวน 1000 คน 
แบ่งกลุ่มย่อยตามวิชาเลือกอีก 8 กลุ่ม คือ คอมพิวเตอร์ การบริหารจัดการ วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ประยุกต์ คุณภาพชีวิต ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาญี่ปุ่น และภาษาจีน 

- แผนภาษา-คณิต จำนวน 160 คน มีการเรียนเพิ่มวิชาบริหารจัดการ และภาษาจีน 

แผนภาษา-ภาษา แบ่งกลุ่มย่อยตามภาษาที่เลือกอีก 5 กลุ่ม คือ 
            - ฝรั่งเศส จำนวน 95 คน 
            - เยอรมัน จำนวน 80 คน 
            - ญี่ปุ่น จำนวน 80 คน 
            - สเปน จำนวน 25 คน 
            - จีน จำนวน 40 คน    

ประเภทและเกณฑ์การรับนักเรียน

1) ประเภทโควตาจังหวัด (ไม่เกินร้อยละ 20 หรือ ประมาณไม่เกิน 300 คน)
คุณสมบัติพิจารณาจาก
- ทะเบียนบ้าน หรือที่ตั้งของโรงเรียน

- มีผลการเรียนในกลุ่มสาระฯ ที่นักเรียนสมัคร ดังนี้

- กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เน้นวิทย์-คณิต ต้องมีระดับคะแนนของชั้น ม.1-ม.3 (5 ภาคเรียน) ในรายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน และเพิ่มเติม ไม่ต่ำกว่า 3.9 /ในรายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน และเพิ่มเติม ไม่ต่ำกว่า 3.9/และมีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม ไม่ต่ำกว่า 3.8

- กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เน้น ภาษา-คณิต ต้องมีระดับคะแนนของชั้น ม.1-ม.3 (5 ภาคเรียน) ในรายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน และเพิ่มเติม ไม่ต่ำกว่า 3.9 /ในรายวิชาภาอังกฤษพื้นฐาน และเพิ่มเติม ไม่ต่ำกว่า 3.9 /ในรายวิชาภาษาไทย ไม่ต่ำกว่า 3.9 /และมีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม ไม่ต่ำกว่า 3.8

- กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เน้น ภาษาฝรั่งเศส/ เยอรมัน/ญี่ปุ่น ในรายวิชาภาอังกฤษพื้นฐาน และเพิ่มเติม ไม่ต่ำกว่า 3.9 /ในรายวิชาภาษาไทย และสังคมศึกษา ไม่ต่ำกว่า 3.9 /และมีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม ไม่ต่ำกว่า 3.8

2) ประเภทสอบคัดเลือก (ร้อยละ 80 หรือ ประมาณไม่เกิน 1,200 คน) แบ่งเป็น 2กลุ่ม ดังนี้
2.1 กลุ่มประเภทความสามารถพิเศษ (ไม่เกินร้อยละ 5 หรือ ไม่เกิน 80 คน) ได้แก่
- ความสามารถพิเศษด้านวิชาการ
เช่น ประสบการณ์เข้าค่ายโอลิมปิกวิชาการ สสวท หรือ ผ่าน สอวน.ค่าย 2 / ได้รับรางวัลเหรียญทอง เงิน หรือ แดง ด้านวิชาการ/ได้รับคัดเลือกเป็นผู้แทนศูนย์ไปแข่งระดับชาติ ฯลฯ

- ความสามารถพิเศษด้านกีฬา ดนตรีร่วมสมัย ดุริยางค์ นาฎศิลป์ ศิลปะ

2.2 กลุ่มประเภทสอบคัดเลือก

- แผนวิทย์-คณิต จำนวน 750 คน
- แผนภาษา-คณิต จำนวน 110 คน
- แผนภาษา-ฝรั่งเศส จำนวน 65 คน
- แผนภาษา-เยอรมัน จำนวน 60 คน
- แผนภาษา-ญี่ปุ่น จำนวน 60 คน
- แผนภาษา-สเปน จำนวน 25 คน
- แผนภาษา-จีน จำนวน 40 คน

                ซึ่งจะมีการสอบคัดเลือกทั้งหมด 5 วิชา คือ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทยและสังคมศึกษา ข้อสอบมีทั้งปรนัยและเติมคำแต่ไม่มีการแสดงวิธีทำ ระดับของข้อสอบนั้นก็ยากพอสมควร (ใช้ร้อยละ 95) และผลการสอบ O-Net เฉพาะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทยและสังคมศึกษา (ใช้ร้อยละ 5) สามารถกรอกข้อมูลสมัครผ่าน หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง http://www.triamudom.ac.th/


สอบเข้า ม.4 โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

                ในระยะหลังได้มีโรงเรียนที่เป็นทางเลือกใหม่และเป็นที่นิยมในกลุ่มนักเรียนชั้นม.3 ทั่วประเทศให้ความสนใจอยากศึกษาต่อมากที่สุดโรงเรียนหนึ่ง นั่นก็คือ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ซึ่งจะทำการสอบคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาต่อในช่วงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ถือว่าเป็นสนามสอบแข่งขันที่สำคัญแห่งหนึ่ง

                ลักษณะการสอน:
 ปรับพื้นฐาน สรุปเนื้อหาอย่างเข้มข้น ของเนื้อหาที่เรียนในชั้น ม.ต้นทั้งหมด 
รวมถึงเนื้อหาบางส่วน ของมัธยมปลาย โดยสามารถเน้นเฉพาะจุดที่ไม่เข้าใจ พร้อมทั้งเทคนิคลัด วิธีจำ แนะแนวการเตรียมตัวก่อนสอบ เก็งข้อสอบ หรือเนื้อหาที่ใช้ออกข้อสอบบ่อยๆ


                โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
 เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย มีฐานะเป็นองค์การมหาชน ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปัจจุบันตั้งอยู่ ณ ต.ศาลายา อ.พุทธมณฆล จ.นครปฐม เป็นโรงเรียนที่ตั้งขึ้นเพื่อสร้างนักวิจัย และนักวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะ ในปีหนึ่งจะมีการคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาชั้นม.4 จำนวนเพียง 240 คน (โดยประมาณ) เนื่องจากมีสายการเรียนเดียว คือ แผนวิทย์-คณิต

                โดยผู้สมัครต้องมีคุณสมบัติหลักดังนี้
- กำลังศึกษาอยู่ในชั้นม.3 หรือเทียบเท่า
            - มีผลการเรียน
            - ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมรวมทุกรายวิชาในชั้นม.1 ละ ม.2 ไม่ต่ำกว่า 3.00
            - ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมรายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐานในชั้นม.1 ละ ม.2 ไม่ต่ำกว่า 3.00
            - ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมรายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานในชั้นม.1 ละ ม.2 ไม่ต่ำกว่า 3.00
            - มีสัญชาติไทยและมีเลขประจำตัวประชาชน

                โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์จึงต้องเน้นหนักทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์มาก ดังนั้นข้อสอบจึงมีเพียง 2 วิชาคือ คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ลักษณะของข้อสอบนั้น จะวัดความสามารถในด้านทักษะการคิดวิเคราะห์และการให้เหตุผล ข้อสอบจึงมีทั้งปรนัย เติมคำและแสดงวิธีทำทั้งสองวิชา (วิชาละ 2.5 ชม. สอบภายใน 1 วัน) โดยนักเรียนที่ผ่านการสอบคัดเลือกจะได้รับทุนการศึกษา (ไม่เสียค่าเล่าเรียน+ที่พัก) เต็มตลอดระยะเวลาที่เรียนในโรงเรียน สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง https://apply.mwit.ac.th/mwit/


สอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหาร

การสอบคัดเลือกกระทำเป็นสองรอบ  ดังนี้

            การสอบรอบแรก เป็นการสอบภาควิชาการ วิชาที่สอบได้แก่ คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์  ภาษาอังกฤษ  ภาษาไทยและสังคมศึกษาตามหลักสูตรไม่เกินชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3) ของกระทรวงศึกษาธิการ มีรายละเอียดดังนี้
1. คณิตศาสตร์ (คะแนนเต็ม 250 คะแนน)  
2. วิทยาศาสตร์ (คะแนนเต็ม 250 คะแนน)  
3. ภาษาอังกฤษ (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) การใช้ไวยากรณ์พื้นฐาน, ความสามารถในทักษะการอ่าน, ความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อสื่อสารคำศัพท์และสำนวนที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
4. ภาษาไทยและสังคมศึกษา (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)
            
          โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศ และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ จะคัดเลือกผู้ที่สอบภาควิชาการผ่าน โดยคัดเลือกจากผู้ที่ได้คะแนนภาควิชาการรวมสูงสุดมาตามลำดับ ไว้จำนวนหนึ่ง  แล้วประกาศรายชื่อเพื่อให้เข้าสอบรอบสองต่อไป

            การสอบรอบสอง เป็นการตรวจร่างกาย ตรวจสอบประวัติ ทดสอบบุคลิกภาพ สอบพลศึกษา สอบสัมภาษณ์ และวัดขนาดร่างกาย มีรายละเอียดดังนี้
1. การตรวจร่างกายและตรวจสอบประวัติ ผู้สมัครจะต้องเข้ารับการตรวจร่างกาย ตามสถานที่ วัน เวลา ที่จะประกาศให้ทราบ  ผู้ไม่ไปรับการตรวจร่างกายถือว่าสละสิทธิผลการตรวจร่างกาย ถือความเห็นของคณะกรรมการคัดเลือกเป็นเด็ดขาด  
2. การสอบพละศึกษา เป็นการทดสอบสมรรถภาพของร่างกาย มีคะแนนเต็ม 50 คะแนน
  1. ดึงข้อราวเดี่ยวถ้าทำได้ 20 ครั้ง จะได้คะแนนเต็ม
  2. ลุกนั่ง 30 วินาทีถ้าทำได้ 25 ครั้ง จะได้คะแนนเต็ม
  3. ยึดพื้นหรือดันข้อถ้าทำได้ 54 ครั้ง จะได้คะแนนเต็ม
  4. วิ่งระยะสั้น (50 เมตร) ถ้าทำได้ไม่เกิน 5.5 วินาที จะได้คะแนนเต็ม
  5. วิ่งระยะไกล (1000 เมตร) ถ้าทำได้ไม่เกิน 3.18 นาที จะได้คะแนนเต็ม
  6. ยืนกระโดนไกลถ้าทำได้ 2.5 เมตร จะได้คะแนนเต็ม
  7. ว่ายน้ำ 50 เมตรถ้าทำได้ 40 วินาที จะได้คะแนนเต็ม
  8. วิ่งกลับตัว (วิ่งเก็บของ) ถ้าทำได้ 9.5 วินาที จะได้คะแนนเต็ม
            การวัดขนาดร่างกายและสอบสัมภาษณ์ เป็นการพิจารณารูปร่าง ลักษณะท่าทาง ความสมบูรณ์ของร่างกาย ความองอาจ ว่องไวและปฏิภาณไหวพริบ ตลอดจนคุณลักษณะอื่น ๆ ผลการสอบถือเกณฑ์ ได้ หรือ ตก เท่านั่นไม่มีคะแนน

ข้อดีของการเป็นนักเรียนเตรียมทหาร

       1. การเข้าศึกษาในโรงเรียนเตรียมทหาร นักเรียนจะผ่านการสอบคัดเลือกเพียงครั้งเดียว แล้วจะได้เข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาเลย โดยมิต้องสอบคัดเลือกอีก และได้รับเงินเดือน เบี้ยเลี้ยงในขณะศึกษาด้วย
       2. เมื่อจบจากโรงเรียนเตรียมทหารจะได้เข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่เสียค่าใช้จ่ายน้อยมาก ไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน อีกทั้งมีเงินเดือนและเบี้ยเลี้ยงให้ในระหว่างที่ศึกษาอยู่
       3. โรงเรียนของเหล่าทัพ มีทุนการศึกษาระยะยาวในต่างประเทศให้แก่นักเรียน ที่เรียนดีในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก ทุกเหล่า
       4. เมื่อสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนของเหล่าทัพ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติแล้ว จะได้รับพระราชทานยศร้อยตรี เรือตรี เรืออากาศตรี และร้อยตำรวจตรี ได้รับพระราชทานกระบี่และปริญญาบัตร ตามสาขาวิชาและได้รับการบรรจุเข้ารับราชการทันทีโดยมิต้องหางานทำอีก
       5. จะได้รับราชการในอาชีพที่มีเกียรติ เป็นที่ยอมรับ สมศักดิ์ศรีของลูกผู้ชายชาวไทย

หลักสูตรเตรียมทหาร
   
            แต่ละเหล่าทัพจะออกข้อสอบเอง เพื่อคัดเลือกบุคคล เข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร เมื่อผ่านการสอบคัดเลือก นักเรียนก็ต้องมาเรียนที่ โรงเรียนเตรียมทหาร จนจบหลักสูตร จากนั้นจึงแยกย้ายกัน ขึ้นเหล่าทัพที่เลือกไว้ตั้งแต่ต้น ถ้าเลือกเหล่าตำรวจ เรียนโรงเรียนนายร้อยตำรวจ   เหล่าทหารบกเรียนโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เหล่าทหารเรือเรียนโรงเรียนนายเรือ  และเหล่าทหารอากาศเรียนโรงเรียนนายเรืออากาศ

        หลักสูตรของโรงเรียนเตรียม ทหาร จะเป็นหลักสูตรเดียวกับของ กระทรวงศึกษาธิการ ที่สอนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-6) แต่ที่นี่จะมีเพียงสายวิทย์-คณิต จบจากโรงเรียนไปแล้ว ถ้าไม่ขึ้นเหล่าทัพที่เลือกตั้งแต่ต้น ก็สามารถไปสอบเอ็นทรานซ์ หรือไปเรียนต่อต่างประเทศได้ แต่มีเงื่อนไขอยู่นิดว่า ถ้าลาออก หรือไม่ขึ้นเหล่า ก็ต้องจ่ายค่าปรับ
 
        นอกจากจะสอนหลักสูตร ตามกระทรวงศึกษาธิการแล้ว ทางโรงเรียนยังต้องสอนนักเรียน ตามที่แต่ละเหล่าทัพเน้นมาเป็นพิเศษด้วย ว่าต้องการให้นักเรียนที่จะขึ้นเหล่านั้นๆ เสริมความรู้วิชาไหนบ้าง อย่างเหล่าทัพอากาศ อาจเน้นวิชาฟิสิกส์ คอมพิวเตอร์ หรือคำนวณ ขณะที่เหล่าอื่นอาจเน้นต่างกันไป โรงเรียนก็ต้องสอนเพิ่มเติม ส่วนโรงเรียนเตรียมทหารเองจะเน้นเรื่องไอที  และภาษาอังกฤษ ซึ่งจะเน้นศัพท์เกี่ยวกับตำรวจ ทหาร ทั้งยังเน้นการเรียนภาคปฏบัติเรื่องระเบียบวินัยและความประพฤติ

ข้อมูลเพิ่มเติมการสอบคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร

- กองทัพบก http://precadet58.crma.ac.th/precadet58/index.asp
- ‎กองทัพเรือ http://www.rtna.ac.th/annouce/index.php
- ‎กองทัพอากาศ http://admission.rtafa.ac.th/
-‎ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ www.rpca-admission.com