หลักสูตร / ค่าเรียน

คอร์สพิเศษอื่นๆ

คอร์สพิเศษ จุฬาติวเตอร์โฮม




TOEFL คืออะไร

TOEFL (Test of English as a Foreign Language) คือ การทดสอบภาษาอังกฤษที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางมากที่สุดในโลก ไม่ว่าคุณต้องการศึกษาต่อที่ไหน การสอบ TOEFL สามารถช่วยให้คุณให้บรรลุผล เดิม TOEFL ใช้สำหรับการศึกษาต่อเฉพาะในประเทศอเมริกา แต่ในปัจจุบันมหาวิทยาลัยชั้นนำส่วนใหญ่ในอังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แคนาดา ก็ยอมรับผลสอบ TOEFL เพื่อการพิจารณาในการรับสมัครแล้ว โดยปัจจุบันได้รับการยอมรับจากมหาวิทยาลัยมากกว่า 7,000 แห่ง ในกว่า 130 ประเทศ ซึ่งรวมถึงเกือบทุกมหาวิทยาลัยในอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และแคนาดา ที่ใช้คะแนน TOEFL สำหรับการรับเข้าเรียน และการให้ทุนการศึกษา

การสอบ TOEFL ประกอบด้วยการฟัง พูด อ่าน และเขียน ซึ่งเป็นการวัดความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ ในระดับวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย สามารถเลือกการสอบได้ทั้ง Internet-based Test (iBT) หรือ Paper-based Test (PBT) ขึ้นอยู่กับรูปแบบที่มีให้ที่ศูนย์ทดสอบ โดยผลการสอบมีอายุ 2 ปี มีรายละเอียดคร่าวๆ ดังนี้


ทักษะ ลักษณะของการสอบ เวลารวม
(นาที)
คำถามทั้งหมด (คะแนนดิบ) อัตราคะแนน
Reading
(การอ่าน)
  อ่านบทความประมาณ 3-5 บท ซึ่งถ้าคิดเป็นความยาวแล้ว รวมทั้งหมดจะได้ประมาณ 700 คำ ซึ่งในแต่ละบทความนั้นจะมีคำถามให้ตอบประมาณ 12-14 ข้อ

60-100

36-70

0-30

Listening
(การฟัง)
  - ฟังการบรรยาย (Lectures) 4-6 เรื่อง แต่ละเรื่องจะกินเวลาประมาณ 3-5 นาที และตอบคำถามประมาณ 6 ข้อต่อเรื่อง,
  - ฟังบทสนทนา(Conversations) 2-3 บท ในแต่ละเรื่องใช้เวลา 3 นาที และตอบคำถาม 5 ข้อในแต่ละบท

60-90

34-51

0-30

Speaking
(การพูด)
  พูด 2 หัวข้อเกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็นในเรื่องทั่วๆ ไป (เรื่องที่คุ้นเคยในสังคมไทย) และ 4 หัวข้อในการพูดเกี่ยวกับ Academic

20

0-4

0-30

Writing
(การเขียน)
  1 หัวข้อที่ให้ผู้ทดสอบ เขียนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้อ่านและได้ฟังมาและอีก 1 หัวข้อเกี่ยวกับการสนับสนุนความคิดเห็นของหัวเรื่อง

50

0-5

0-30

รวม 0-120

TOEFL Internet-based Test (iBT) ประเมินความสามารถในการอ่าน ฟัง พูด และ เขียนภาษาอังกฤษและใช้ทักษะเหล่านี้ร่วม กันในชั้นเรียนมหาวิทยาลัย เช่น อ่าน หรือฟังบรรยาย แล้วเขียนหรือพูดเกี่ยวกับสิ่งที่คุณรู้ TOEFL Paper-based Test (PBT) ประเมินความสามารถในการอ่าน ฟัง และเขียนภาษาอังกฤษ

** การสอบ TOEFL จะมีการจัดสอบทุกเดือนๆ ละ 1-2 ครั้ง ค่าธรรมเนียม $185

เกณฑ์คะแนนขั้นต่ำที่พอจะยอมรับได้สำหรับเรียนต่อในระดับปริญญาโทในต่างประเทศ คือ 80 (หรือเทียบเท่า 550 ในแบบเดิม - Paper-Based Test) ซึ่งหากจะเข้ามหาวิทยาลัยชื่อดัง ต้องให้ได้ 100 ขึ้นไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่แต่ละสาขากำหนด


IELTS คืออะไร

IELTS (International English Language Testing System) คือการทดสอบภาษาอังกฤษระดับนานาชาติ ได้รับการออกแบบเพื่อใช้ประเมินความสามารถด้านภาษาของผู้สมัครสอบที่ต้องการ เรียน หรือทำงานในสถานที่ที่ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร การสอบ IELTS ใช้ ประเมินความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของผู้สมัครสอบอย่างมี ประสิทธิภาพใน 4 ทักษะ ได้แก่ การฟัง การอ่าน การเขียน และ การพูด รวมถึงความรู้ทางด้านไวยากรณ์และคำศัพท์ในการใช้ภาษา

IELTS เป็นข้อสอบที่ร่วมมือกันระหว่าง the University of Cambridge ESOL Examinations (Cambridge ESOL) บริติชเคานซิล และ IDP : IELTS Australia ซึ่งการสอบ IELTS ถือได้ว่าเป็นตัวสอบที่ใช้ประเมินความสามารถทางภาษาอังกฤษที่ได้มาตรฐาน ระดับนานาชาติสูงสุด ซึ่งครอบคลุมทักษะทางภาษาทั้ง 4 ทักษะไม่ว่าจะเป็น การฟัง การอ่าน การเขียน และการพูด

IELTS แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

1. Academic Module : สำหรับผู้ต้องการเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาหรือสูงกว่าในทุกสาขา

2. General Training : สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาต่อในระดับต่ำกว่าอุดมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา หลักสูตรระยะสั้น หลักสูตรฝึกอบรมต่างๆ แต่บางสถาบันต้องการให้ผู้สมัครเรียนสอบ Academic Module อันเนื่องมาจากมีความยากง่ายของสาขา ซึ่งผู้สมัครสามารถสอบถามโดยตรงกับสถาบันนั้น หรือเจ้าหน้าที่แนะแนว หรือสำหรับผู้ที่มีความประสงค์จะย้ายถิ่นฐานไปออสเตรเลียหรือนิวซีแลนด์มีรายละเอียดคร่าวๆ ดังนี้

  • Lisitining 30 นาที ผู้สอบต้องฟังเนื้อเรื่องจากเทปซึ่งเนื้อหาจะประกอบไปด้วยการสนทนาและบทพูด รวมทั้งการออกเสียง ผู้สอบจะได้ฟังเทปเพียงครั้งเดียวเท่านั้นแต่จะให้เวลาในการอ่านคำถามและ เขียนคำตอบ
  • Writing 60 นาที มี 2 หัวข้อ หัวข้อแรกผู้สอบต้องเขียนรายงานประมาณ 150 คำ ตามเนื้อหาในภาพ เพื่อแสดงความสามารถในการบรรยายรายละเอียดและอธิบายข้อมูลจากภาพ หัวข้อที่ 2 ให้ผู้สอบ เขียนเรียงความสั้นๆประมาณ 250 คำ เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือตอบปัญหาโดยถ่ายทอดมาเป็นการเขียนที่เหมาะสม
  • Reading 60 นาที มีเนื้อเรื่องให้อ่าน 3 ตอน พร้อมด้วยคำถามที่ต้องปฎิบัติตาม ซึ่งเนื่อหาเหล่านี้ได้มาจากหนังสือ นิตยสาร และ หนังสือพิมพ์ ในทุกๆ เรื่องเป็นเรื่องทั่วไป ไม่ได้เจาะจงเฉพาะทางใดทางหนึ่ง
  • Speaking 11-14 นาที รูปแบบการสอบประกอบไปด้วยการสัมภาษณ์ปากเปล่าระหว่างผู้สอบและอาจารย์โดยมี 3 ส่วนหลักๆ คือ

    1. คำถามทั่วไปเกี่ยวกับตัวเองและครอบครัว

    2. ผู้สอบจะได้บัตรเพื่อให้พูดเกี่ยวกับหัวข้อนั้นๆ

    3. อาจารย์จะหยิบยกประเด็นขึ้นมาเพื่อให้ผู้สอบต้องโยงให้เข้ากับหัวข้อในส่วนที่ 2

** ค่าสมัครสอบ IELTS ด้วยตนเอง ราคา 6,750 บาท และ ค่าสมัครสอบออนไลน์ ราคา 6,440 บาท สามารถทำการสอบครั้งต่อไปได้อีก 90 วันหลังจากการสอบครั้งสุดท้ายโดยทั่วไปมหาวิทยาลัยจะรับผลการสอบ IELTS ที่มีคะแนนรวม 6 หรือ 6.5 ในการเข้าศึกษาต่อ

อย่างไรก็ตามผู้สอบควรตรวจสอบระดับผลคะแนนที่เป็นที่ต้องการ กับทางสถาบันการศึกษาที่ได้สมัครไว้ด้วย IELTS จัดสอบที่ โรงแรมปทุมวันปรินเซส (ติดกับมาบุญครอง) ในช่วงเช้า และ British Council (BC) กรุงเทพฯ ณ อาคารวิทยกิตติ์ ชั้น 13 ในช่วงบ่าย โดยจัดสอบเดือนละ 3 ครั้ง ตรงกับวันเสาร์ และควรสมัครสอบล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือน นอกจากนี้ทาง BC อาจจัดสอบเพิ่มเติมตามความเหมาะสม ซึ่งท่านสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ แผนกลูกค้าสัมพันธ์ชั้น 1


IGCSE คืออะไร

IGCSE (International General Certificate of Secondary Educational) คือ หลักสูตรสำหรับนักเรียนที่มีอายุระหว่าง 14 – 16 ปี ให้ได้รับวุฒิการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ผู้สำเร็จหลักสูตรนี้สามารถนำไปใช้เรียนต่อในระดับการศึกษาที่สูงขึ้นอาทิ นำไปใช้ศึกษาต่อในหลักสูตร AS, A Level, International Baccalaureate (IB) หรือเพื่อศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัย สำหรับประเทศไทยการสอบผ่านหลักสูตร IGCSE และ GCE O Level ผู้สอบสามารถนำผลที่สอบได้ใน 5 รายวิชาที่ได้ไม่ต่ำกว่า C ไปขอเทียบวุฒิการศึกษาและนำเอกสารการเทียบวุฒิยื่นสมัครศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยได้

หลักสูตร IGCSE เป็นหลักสูตรที่ได้รับการยอมรับจากกระทรวงศึกษาและนานาชาติ มีวิชาต่างๆให้ผู้ศึกษาสามารถเลือกเรียนได้มากกว่า 30 วิชาIGCSE นั้นเป็นการเรียนการสอนที่บูรณาการระหว่างความรู้ในแต่ละรายวิชาไปพร้อมกับการฝึกปฎิบัติจากประสบการณ์จริง ซึ่งในการสอบบางวิชา ผู้สอบสามารถเลือกทำข้อสอบวัดความรู้ในเนื้อหาวิชาแบบ Core(พื้นฐาน) หรือแบบ Extended (ขั้นสูง) เพื่อให้สอดคล้องกับความรู้ของผู้สอบที่มีความแตกต่างกัน โดยผู้สอบที่เลือกสอบแบบ Core จะได้เกรด C, D, E, E หรือ G เท่านั้น ในขณะที่ผู้สอบที่เลือกสอบแบบ Extended จะได้เกรดตั้งแต่ A, B, C, D, E, F หรือ G

การสอบ IGCSE นั้นจะถูกจัดขึ้นโดยโรงเรียนนานาชาติที่ใช้ระบบการเรียนการสอนแบบอังกฤษยกเว้น Harrow International School ที่อนุญาตให้คนนอกที่ไม่ได้เป็นนักเรียนของโรงเรียนเข้าไปสอบได้ ส่วนผู้ที่สนใจแต่ไม่ได้เป็นนักเรียนของโรงเรียนนานาชาติข้างต้น สามารถสอบได้โดยสมัครสอบกับ British CouncilThailandซึ่งใช้แบบทดสอบของ University of Cambridge International Examination (CIE) ในการสอบ

หลักสูตร IGCSE มีรายวิชาให้เลือกสอบจาก 5 กลุ่มวิชา อันประกอบไปด้วย

  • 1. กลุ่มวิชาภาษา (Language)
  • 2. กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (Humanities & Social Science)
  • 3. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ (Science)
  • 4. กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ (Mathematics)
  • 5. กลุ่มวิชาทักษะวิชาชีพ (Creative, Technical and Vocational)

** IGCSE ในแต่ละปีจะมีการจัดการสอบประมาณ 2 ครั้ง ช่วงเดือนพฤษภาคม/มิถุนายน และ เดือนตุลาคม/พฤศจิกายน ค่าสมัครสอบโดยทั่วไปราคา 6,910-10,775 บาท ต่อวิชา


GED คืออะไร

GED (General Educational Development) คือ การสอบเทียบเท่าระดับวุฒิมัธยมศึกษาตอนปลายในประเทศไทยตามหลักสูตรการศึกษาของสหรัฐอเมริกาและแคนาดา นั่นหมายความว่าผู้ที่ผ่านการสอบ GED จะมีศักดิ์และสิทธิเทียบเท่าการเรียนจบม.6 ในไทยและยังมีสิทธิสมัครสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้

GED สอบวิชาอะไรบ้าง

  • GED มีสอบทั้งหมด 4 วิชา ดังนี้
    1. Reasoning Through Language Arts (RLA)
    2. Mathematics Reasoning
    3. Social Studies
    4. Science
  • เกณฑ์การผ่านแต่ละวิชา จะต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่า 145 จากคะแนนเต็ม 200
  • ข้อสอบ เป็นแบบ Multiple Choice เป็นส่วนใหญ่ มี เติมคำ จับคู่ และเขียน Essay
  • ค่าสอบ GED คือวิชาละ $60
  • เมื่อสอบผ่านจะได้เอกสาร 2 อย่างคือ Transcript และ Diploma ซึ่งต้องนำเอกสารทั้งสองนี้ไปใช้สมัครสอบเข้ามหาวิทยาลัยโดยไม่ต้องนำไปเทียบวุฒิ 

GED ผู้เข้าสอบต้องมีอายุเท่าไร ?

  • ต้องมีอายุ 18 ปีบริบูรณ์
  • สำหรับผู้ที่อายุ 16-17 ปีบริบูรณ์ จะต้องได้รับการอนุญาตจากผู้ปกครองเสียก่อน โดยทำหนังสือยินยอม (Consent Form) และส่งไปยัง GED Testing Service เพื่อขอเข้าสอบ

GED สมัครสอบอย่างไร

การสมัครสอบ GED ผู้เข้าสอบต้องไปเว็ปไซต์ www.ged.com เพื่อเข้าสร้าง Account จากนั้นจึงสามารถจัดตารางสอบได้

GED Diploma ออกโดยรัฐใด

หน่วยงานที่ออกเอกสาร GED ให้สำหรับผู้ที่สอบนอกประเทศสหรัฐอเมริกา คือ Government of the District of Columbia (Washington, D.C.) ประเทศสหรัฐอเมริกา

น้องๆที่มาสอบ GED มักจะมีลักษณะดังนี้

  1. นักเรียน Home School
  2. นักเรียนกลับมาจาก Exchange Program โดยไปต่างประเทศตอนม.5 เมื่อกลับมาจึงต้องการเรียนม.6 พร้อมเพื่อนๆแต่โรงเรียนไม่อนุญาต (และไม่อยากไปเรียนกับน้องๆ) จึงมาสอบ GED เพื่อเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัยไปเลย
  3. เรียนจบระดับ High School จากต่างประเทศ แต่ด้วยเหตุผลบางอย่าง กระทรวงศึกษาธิการไม่รับเทียบวุฒิให้ (เช่น เรียนจบจริงแต่หน่วยกิตได้ไม่มากพอตามที่กระทรวงฯ กำหนด)
  4. เรียนจบจากโรงเรียนนานาชาติในไทยแต่กระทรวงศึกษาธิการไม่รับรองคุณวุฒิ
  5. ต้องการสอบ GED เพื่อเข้ามหาวิทยาลัยก่อนเพื่อนๆ (มีทั้งนักเรียนจากโรงเรียนไทยและนานาชาติ) เพราะการสอบ GED หมายถึงจบระดับชั้นม.ปลาย ดังนั้นในกรณีของการสอบเข้ามหาวิทยาลัยหลักสูตรภาษาไทย นักเรียนที่สอบผ่าน GED จึงมีสิทธิสอบข้อสอบต่างๆที่ สงวนสิทธิให้กับนักเรียนม.6 เท่านั้น เช่น GAT/ PAT/ 9 วิชาสามัญ/ O-NET/ ข้อสอบ admission ต่างๆ

GED สอบได้ที่ใดบ้าง

  • The Enterprise Resources Training Co.Ltd. ชั้น 3 อาคารชาญอิสสระ 2 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ 02 718 1599
  • Pearson Professional Centers-Bangkok, Thailand ชั้น 10 อาคาร Bangkok Business ถนนอโศก กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ 02 664 3563
  • Movaci Technology 420/11-13 ถนนช้างคลาน ต.ช้างคลาน อ.เมือง จ. เชียงใหม่ โทรศัพท์ 053 920 555
  • Thabyay Education อ.แม่สอด จ.ตาก
  • Phuket Academic Language School 66/19 ถนนวิชิตสงคราม อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต

A Level คืออะไร

A-Level ย่อมาจาก General Certificate of Education (GCE) Advanced Level เป็นหลักสูตรการเรียนการสอนใช้ในระบบการศึกษาของประเทศอังกฤษ เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียนที่กำลังจะเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาในประเทศอังกฤษ 

หลักสูตร A-Level เป็นหลักสูตร 2 ปี ประกอบด้วย

  • AS-Level (Advanced Subsidiary Level) สำหรับนักเรียน Year 12
  • A2-Level (Advanced Level) สำหรับนักเรียน Year 13

ผลสอบ A-Level

เกรด A* A B C D F
เปอร์เซ็นต์ 90% ขึ้นไป 80-89% 70-79% 60-69% 50-59% 40-49%

ผลการสอบมี 6 ระดับ ถือว่าสอบผ่านทั้งหมด มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่พิจารณารับผู้มีผลการสอบในระดับ C ขึ้นไป บางมหาวิทยาลัยอาจรับเฉพาะนักเรียนที่ได้คะแนนระดับ A และ B เท่านั้น ผลสอบ A Level นี้จะเป็นเกณฑ์ที่สถานศึกษาใช้ในการพิจารณารับนักเรียนเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีในประเทศอังกฤษจำเป็นต้องสอบราย วิชา A Level อย่างน้อย 3 วิชา

รายวิชาในหลักสูตร

A-Level มีรายวิชาให้เลือกสอบจาก 5 กลุ่มวิชา อันประกอบไปด้วย

  1. กลุ่มวิชาภาษา(Language)
  2. กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์(Humanities & Social Science)
  3. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์(Science)
  4. กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์(Mathematics)
  5. กลุ่มวิชาทักษะวิชาชีพ(Creative, Technical and Vocational)

คุณสมบัติของการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา

  • วิชา GCSE 3 วิชา และ GCE “A” Level 2 วิชา หรือ
  • วิชา GCSE 1 วิชา และ GCE “A” Level 3 วิชา

หมายเหตุ: หลังจากจบการศึกษาภาคบังคับเมื่ออายุ 16 ปี นักเรียนสามารถเลือกที่จะไม่ศึกษาต่อ หรือจะศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นไปได้

หน่วยงานจัดสอบ A-Level ในประเทศไทย

  • โรงเรียนนานาชาติที่สอนโดยใช้ระบบอังกฤษ โดยส่วนใหญ่ทำการเปิดสอบสำหรับนักเรียนที่ศึกษาในโรงเรียนของตนเท่านั้น
  • Harrow International School เปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกที่ต้องการสอบ A-Level เข้าสอบได้
  • British Council เปิดรับสมัครสอบ AS และ A-Level สำหรับบุคคลทั่วไป ในปี 2560 ด้วย

ช่วงเวลาในการสอบ A-Level

A-Level มีช่วงเวลาในการสอบปีละ 2 ครั้งคือในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน และตุลาคม-พฤศจิกายน

 

 

SAT คืออะไร

            SAT เป็นข้อสอบที่ใช้วัดระดับความรู้ ความสามารถของนักเรียนที่ต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาตรี หลักสูตรภาษาอังกฤษ หรือใช้ยื่นในการศึกษาต่อในต่างประเทศ  เพื่อเปรียบเทียบความพร้อม และความสามารถที่แท้จริงของนักเรียนแต่ละคน โดยไม่ต้องอาศัยเกรดจากโรงเรียน โดยจะทดสอบการใช้เหตุผล 2 วิชา คือ ภาษาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ข้อสอบ SAT แบ่งออกเป็น 7 section เวลาในการสอบคือ 3 ชั่วโมง โดยจัดแบ่งข้อสอบดังนี้

SAT Verbal
 : มี 3 ส่วน ซึ่งทดสอบในเรื่องของ Reading, Grammar และ Analytical Reasoningโดยมีรูปแบบของคำถามเป็น Analogies, Sentence Completion และ Critical Reading ระยะเวลาของการสอบคือ 1 ชั่วโมง 15 นาที 

SAT Math
 : มี 3 ส่วนเช่นกัน ซึ่งทดสอบในเรื่องของ Algebra, Arithmetic และ Geometry โดยมีรูปแบบของคำถามแบบ Quantitative Comparisons (QCs), Regular Math และ Grid-ins ระยะเวลาของการสอบคือ 1 ชั่วโมง 15 นาที

Experimental
 : การสอบใน 1 section ที่เหลือนี้ จะเป็นเรื่องของบททดสอบ ซึ่งอาจเป็นทางด้านของVerbal หรือ Math และใช้เป็นข้อมูลภายในของ ETS เท่านั้น คะแนนในส่วนนี้ จะไม่นำมารวมกับคะแนนในส่วนอื่นๆ

            การคิดคะแนนจะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือส่วนของ Math และส่วนของ Verbal คะแนนเต็มส่วนละ 800 คะแนน รวมเป็น 1600 คะแนน หากผู้เข้าสอบตอบผิดจะถูกหักข้อละ 0.25 คะแนน  ตอบถูก ได้ ข้อละ 1 คะแนน ทั้งนี้มาจากคะแนนเต็ม 55 แต่คะแนนเต็มจริง 800 คะแนน  เมื่อแปลงสเกลคะแนนแล้วจะพบว่า หากน้องๆ ทำถูก จะได้ 14.5คะแนนเลยทีเดียว แต่ถ้าหากทำผิด จะโดนติดลบประมาณ 3.7 คะแนน 

            ผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดและสมัครสอบผ่านเว็บไซด์ http://sat.collegeboard.com/  ค่าธรรมเนียมในการสอบ SAT $43 SAT with Essay $54.50 SAT subject test  $26 (วิชาแรก)+$18 (วิชาถัดไป)+$26 (language and listening test)

ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าการสอบ CU-AAT และ SAT มีลักษณะคล้ายกันมากโดยเราจะสรุปความแตกต่างดังนี้

- CU-AAT เป็นข้อสอบสำหรับเข้าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ส่วน SAT เป็นข้อสอบสำหรับเข้าหลักสูตรนานาชาติมหาวิทยาลัยไหนใดก็ได้ แม้กระทั่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วย 

- ราคาสำหรับค่าสอบ จะค่อนข้างแตกต่างกันเพราะว่า CU-AAT เราชำระเงินด้วยหน่วยบาท คือ 1,300 บาท ส่วน SAT เป็นหน่วยเหรียญ และชำระเงิน ผ่านบัตรเครดิตเท่านั้น  

- การสอบ CU-AAT และ SAT ส่วนของคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษจะเหมือนกัน สิ่งที่แตกต่างกัน คือ CU-AAT จะไม่มี Writing แต่ถ้าสอบ SAT คุณต้องเตรียม Writing  แต่หากผู้สนใจจะยื่นคะแนนสอบเข้าหลักสูตรนานาชาติในประเทศไทย บางมหาวิทยาลัยจะไม่นำ ส่วนของ Writing มาพิจารณา อาจจะไม่ต้องทำ หรือทำแบบไม่ต้องเครียดมาก   แต่ถ้าต้องการยื่นหลักสูตรนานาชาติในต่างประเทศ ต้องเตรียมตัวส่วนของ Writing ไว้ให้ดีด้วย

- เนื้อหาส่วนใหญ่จะคล้ายกันมาก ทั้งในส่วนของคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ  สิ่งที่แตกต่างกันในตัวข้อสอบ คือถ้าเป็น CU-AAT นั้น ข้อสอบคณิตศาสตร์ 55 ข้อ รวดเดียว  ข้อสอบภาษาอังกฤษ 55 ข้อ รวดเดียว ส่วน SAT ข้อสอบคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษสลับกัน แต่จำนวนข้อสำหรับคณิตศาสตร์  ในการสอบ CA-AAT และ SAT จะเท่าๆ กัน แต่ส่วนภาษาอังกฤษ SAT จะมีจำนวนข้อมากกว่า เพราะจะมี ส่วนของ Writing เพิ่มเติมเข้ามา


CU-TEP คืออะไร

            การสอบที่จัดทำขึ้นโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใช้ในการวัดความสามารถการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาทางทักษะการอ่าน การเขียนการฟัง และ การพูดเนื้อหาเป็นภาษาอังกฤษทั่วไป และภาษาอังกฤษกึ่งวิชาการ ซึ่งผลการสอบมีอายุ 2 ปี ประกอบด้วยข้อสอบ 3 ชุดย่อย คือ
  • Listening ทดสอบทักษะการฟังโดยให้ฟังเทปที่ใช้เสียงของเจ้าของภาษา และตอบคำถามวัดความเข้าใจ จำนวน 30 ข้อ เวลาสอบ 30 นาที
  • Reading ทดสอบทักษะการอ่านโดยให้อ่านเรื่องที่กำหนดให้ และตอบคำถามเพื่อวัดความเข้าใจ จำนวน 60 ข้อ เวลาสอบ 70 นาที
  • Writing ทดสอบความรู้ด้าน Grammar โดยให้หาจุดบกพร่องของประโยคที่กำหนดให้ (Error recognition) จำนวน 30 ข้อ เวลาสอบ 30 นาที
            การสอบ CU-TEP สามารถนำผลคะแนนไปเทียบกับคะแนน TOEFL ว่าได้เท่ากับเท่าไหร่ บุคคลทั่วไปสามารถนำคะแนน CU-TEP ไปใช้ได้หลายด้าน ทั้งด้านการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก สามารถนำไปใช้สมัครงาน ข้อสอบ CU-TEP มีคะแนนเต็มคือ 120 คะแนน (120 ข้อ) โดยทั่วไปควรจะทำให้ได้ครึ่งนึง จึงจะถือว่าผ่าน นั่นคือ 60 คะแนน แต่บางสาขาวิชาก็กำหนดขั้นต่ำไว้แค่ 50 คะแนน หรือกำหนดไว้สูงกว่านี้ (เช่นภาค Inter) ดังนั้นควรทำการตรวจสอบกับสาขาที่ต้องการสมัครว่ามีคะแนนขั้นต่ำหรือไม่ และเท่าไหร่ การสอบ CU-TEP นั้น  จะมีการจัดสอบโดยเฉลี่ยเดือนละครั้ง  ผู้สมัครต้องสมัครสอบผ่านโปรแกรมลงทะเบียนแบบ Online ทาง Internet เท่านั้น โดยผู้สมัครสามารถสมัครผ่านทาง http://www.atc.chula.ac.th ค่าธรรมเนียมการสอบ 900 บาท


CU-AAT คืออะไร

            แบบทดสอบวัดความถนัด CU-AAT มีไว้สำหรับผู้ประสงค์เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีหลักสูตรภาษาอังกฤษ และหลักสูตรนานาชาติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยผลการสอบมีอายุ 2 ปี  แบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ ดังนี้ 
ส่วนของคณิตศาสตร์ (ข้อสอบเป็นภาษาอังกฤษ) มี 55 ข้อ  70 นาที คะแนนเต็ม 800 คะแนน 
ส่วนของภาษาอังกฤษ มี 55 ข้อ เวลา 70 นาที คะแนนเต็ม 800 คะแนน 


1. Math Section ใช้สำหรับวัดความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์ในเรื่องต่อไปนี้

- Arithmetic
- Algebra
- Geometry
- Problem solving

2. Verbal Section ใช้สำหรับวัดความสามารถทางด้านภาษาในเรื่องต่อไปนี้

- Understanding how the different parts of a sentence fit logically together
- Finding the meaning of vocabulary in context
- Identifying sentence errors
- Improving sentences and paragraphs

แบบทดสอบส่วนนี้ประกอบด้วย 2 ส่วนย่อย ดังนี้
1. The Critical Reading Section
- Sentence Completion
- Passage-based Reading
2. The Writing Section
- Improving Sentences
- Identifying Sentence Errors
- Improving Paragraphs 

หมายเหตุ !
1. แบบทดสอบ CU-AAT เป็นข้อสอบแบบตัวเลือกทั้งหมด
2. การคิดคะแนนหากผู้เข้าสอบตอบผิดจะถูกหักข้อละ 0.25 คะแนน  ตอบถูก ได้ ข้อละ 1 คะแนน ทั้งนี้มาจากคะแนนเต็ม 55 แต่คะแนนเต็มจริง 800 คะแนน  เมื่อแปลงสเกลคะแนนแล้วจะพบว่า หากน้องๆ ทำถูก จะได้ 14 คะแนนเลยทีเดียว แต่ถ้าหากทำผิด น้องจะโดนติดลบประมาณ 3.7 คะแนน ในแต่ละปีจะมีการสอบประมาณ 5 ครั้ง  ค่าธรรมเนียมการสอบ 1,300บาท  โดยลงทะเบียนสมัครสอบ ได้ที่ http://www.atc.chula.ac.th/


CU-ATS คืออะไร

            แบบทดสอบ CU-ATS (Aptitude Test for Science of Chulalongkorn University) ใช้วัดความถนัดทางวิทยาศาสตร์ สำหรับบุคคลที่ต้องการสมัครเข้าศึกษาต่อ ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในระดับปริญญาตรีในคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติโดย ผลการสอบมีอายุ 2 ปี ประกอบด้วย

วิชาฟิสิกส์ 30 ข้อ เวลา 60 นาที
วิชาเคมี 55 ข้อ เวลา 60 นาที

            แบบทดสอบ CU-ATS (Nano) (Aptitude Test for Science (Nano) of Chulalongkorn University) ใช้วัดความถนัดทางวิทยาศาสตร์ (นาโน) ประกอบด้วย

วิชาฟิสิกส์ 60 ข้อ เวลา 60 นาที
วิชาเคมี 55 ข้อ เวลา 60 นาที
วิชาชีววิทยา 60 ข้อ เวลา 60 นาที

CU-ATS ในแต่ละปีจะมีการจัดการสอบประมาณ 3 ครั้ง ค่าธรรมเนียมการสอบ 1,000 บาท
วิธีสมัครสอบ CU-ATS : สามารถสมัครผ่านทาง http://www.atc.chula.ac.th/th_html/th_ats3.html
CU-ATS (Nano): สามารถสมัครผ่านทาง http://www.atc.chula.ac.th/th_html/th_atsnano3.html


หมายเหตุ !
1. แบบทดสอบ CU-ATS เป็นข้อสอบแบบตัวเลือกทั้งหมด
2. การคิดคะแนนหากผู้เข้าสอบตอบผิดจะถูกหักข้อละ 0.25 คะแนน

กลับด้านบน